วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

ผลงานการออกแแบบ































ประวัติผู้ทำโครงการศึกษาออกแบบนิเทศศิลป์


ชื่อ-สกุล นางสาวบุญศิริ เลิศทองไทย

วัน/เดือน/ปีเกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
สถานที่เกิด โรงพยาบาลบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
ที่อยู่ปัจจุบัน 2444/119 ม.7 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทปราการ 10270
โทรศัพท์บ้าน 02-749-6813
โทรศัพท์มือถือ 086-383-5382
อีเมลล์ chom_phukiiz78@hotmail.com
ประวัติการศึกษา      
                       –ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น

  • โรงเรียนมัธยมด่านสำโรง

–ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • โรงเรียนนนทรีวิทยา

–ระดับปริญญาตรี

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2553




ชื่อ-สกุล นายรพีพัฒน์ ดำรงค์ศรีสกุล

วัน/เดือน/ปีเกิด 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532
สถานที่เกิด โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยต์
ที่อยู่ปัจจุบัน 8 ถ.จันทน์ ซ.จันทน์ 31 แขวงทุ่งวัดดอน ข.สาทร กทม. 10120
โทรศัพท์บ้าน 02-213-3003
โทรศัพท์มือถือ 087-987-0289
อีเมลล์ mickey_jai@hotmail.com
ประวัติการศึกษา 
                      –ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น

  • โรงเรียนวัดสุทธิวราราม

–ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สารสาสน์บริหารธุรกิจกนกอนุสรณ์

–ระดับปริญญาตรี

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2553


แบบเสนอโครงร่างการวิจัยเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์
วิชาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
มหาวิทยาลัยราชฏัภบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


ชื่อหัวข้อ การออกแบบหนังสือเล่มเล็ก (Booklet) บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง


1.1  ที่มาและความสำคัญของปัญหา
     คลองบางหลวง คือ ชุมชนเก่าแก่ริมน้ำมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา “คลองบางหลวง” ถือเป็นเส้นทางที่สำคัญสำหรับบรรดาพ่อค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะมาค้าขายนอกจากนี้ “คลองบางหลวง” ยังเป็นเส้นทางแห่งสัมพันธไมตรีที่มีผู้คนมากมายได้มารู้จักและสร้างมิตรไมตรีที่ดีต่อกันในสมัยนั้น 
   ปัจจุบันบ้านศิลปิน ถือเป็นบ้านที่เก่าแก่หลังหนึ่งในคลองบางหลวง บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่ถูกปรับปรุงให้เป็นสถานที่แสดงงานศิลป์ เป็นที่รวมตัวของกลุ่มศิลปินที่รักงานศิลปะ ซึ่งกลุ่มศิลปินเหล่านี้ได้บรูณะซ่อมแซมบ้านศิลปินใช้เป็นสถานที่ทำงาน แสดงงานศิลป์ ซึ่งภายในบ้านศิลปินแห่งนี้ได้สร้างจุดสนใจในความเป็นวิถีชาวบ้านริมน้ำ ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีกลิ่นอายของอดีต มีเจดีย์ให้กราบไหว้และมีหุ่นละครเล็ก คณะคำนาย ซึ่งถือเป็นการแสดงที่น่าประทับใจอีกด้วย กลุ่มศิลปินที่รักงานศิลปะกลุ่มนี้ได้สร้างคุณค่าทางด้านจิตใจถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่ได้ให้ความสำคัญกับชีวิตและสถานที่ที่อยู่อาศัย โดยคำนึงถึงความสุขที่ยั่งยืนมากกว่าความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว

ความสำคัญของปัญหาที่ผู้ทำโครงการฯ จะทำการศึกษาพร้อมกับนำเสนอเป็นหนังสือเล่มเล็ก (Booklet) เรื่อง บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง ผลงานออกแบบนี้สามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่ในการดำรงชีวิตให้ควบคู่ไปกับศิลปะโดยนำการดำรงชีวิตของคนในชุมชนบ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นทั้งด้านอารมณ์และจิตใจ

1.2  วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาหลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
1.2.2 เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง
1.2.3 เพื่อออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก (Booklet) บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง

1.3  ขอบเขตของการศึกษา
1. ศึกษาหลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
2. ศึกษาการออกแบบหนังสือ
3. ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบ
4. การสร้างภาพประกอบในงานสิ่งพิมพ์
5. ศึกษาประวัติคลองบางหลวง และบ้านศิลปิน
6. ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนคลองบางหลวง


1.4  วิธีการดำเนินงาน
        1.เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ประเด็นการศึกษาหลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ โดยมีแนวทางการศึกษาดังนี้
               1.1 การศึกษาเอกสาร หนังสือวิชาการ สื่อออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องหลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
1.2 การสรุป สังเคราะห์ วิเคราะห์ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบหนังสือเล่มเล็ก
2.เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2.ศึกษาขอมูลเกี่ยวกับ บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง
 2.1 การศึกษาเอกสาร หนังสือวิชาการ สื่อออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติบ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง
 2.2 การสรุป สังเคราะห์ วิเคราะห์ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับประวัติบ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง
3.เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก (Booklet) บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง
3.1 การศึกษาเอกสาร หนังสือวิชาการ สื่อออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก (Booklet) 
3.2 การสรุป สังเคราะห์ วิเคราะห์ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก (Booklet)

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การทำโครงการ ฯ นี้ ผู้ทำโครงการได้ทำการศึกษาพร้อมกับการนำเสนอผลงานเป็นหนังสือเล่มเล็ก (Booklet) โดยต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงการ เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ การออกแบบหนังสือ ทำให้ผู้ทำโครงการได้รับประโยชน์และได้รับความรู้มากขึ้น เข้าใจถึงการทำงาน มีแนวคิดที่ดีขึ้นในการออกแบบและสามารถนำประสบการณ์เหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อีกทั้งยังนำความรู้ ความสามารถ ไปใช้ในการทำงานได้ในอนาคต


เอกสารอ้างอิง
อารยะ ศรีกัณยาบุตร. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์, กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
ชลูด นิ่มเมอ. องค์ประกอบของศิลปะ, กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2544
ปาพจน์ หนุนภักดี. Graphic design principles 2 nd edition. นนทบุรี : ไอดีซี, 2555 : 298 – 306
Hara Kenya. Designing design.Barden : Lars Muller publishers,2008
สิริอร วิชชาวุธและคณะผู้เขียน. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน. หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ แปลโดย สุดตระการ ธนโกเศศและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ชานชาลา, 2546
ประชา สุวีรานนท์. ดีไซต์ + คัลเจอร์. กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, 2551
ปริญญา โรจน์อารยานนท์. “ความรู้พิ้นฐานของการออกแบบตัวพิมพ์ไทย”จาก http://www.fOnt.com/forum/index.php/topic,5296.0.2549
ปริญญา โรจน์อารยานนท์. อะไรทำให้ฟอนต์ไทยอ่านยาก.จาก http://www.dbfonts.biz/fontarticle.php?artid=2.2553

ผลงานออกแบบ และอภิปรายผล 
        การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือเล่มเล็ก (Book let) เรื่อง บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (2) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบ้านศิลปิน
ณ คลองบางหลวง (3) เพื่อออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือเล่มเล็ก (Book let) เรื่องบ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง ซึ่งในบทที่ 5 เป็นการนำเสนอผลงานออกแบบตามวัตถุประสงค์ที่ 3 โดยมีลำดับการนำเสนอดังนี้ คือ
        
ตอนที่ 1 ผลงานออกแบบและการอภิปรายผล

การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือเล่มเล็ก (Book let) เรื่อง บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง



อภิปรายผล
        หนังสือเล่มเล็ก (Book let) เรื่อง บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง มีขนาดเท่ากับ A5 ลักษณะของผลงานจะมีความโดดเด่นในเรื่องของรูปแบบหนังสือที่มีความแตกต่าง จากหนังสือเล่มเล็กทั่วไปเพราะเป็นลักษณะของการเปิดอ่านที่ต้องเปิดขึ้นด้านบน ซึ่งแตกต่าง จากหนังสือทั่วไปที่เปิดอ่านจากด้านข้าง มีการจัดวางเนื้อหาแบบกึ่งกลาง โดยนำเสนอรูปภาพควบคู่ไปกับเนื้อหา และข้อมูลให้เกิดความเพลิดเพลิน และความสวยงาม ในการอ่าน ลักษณะของโทนสีเป็นการแสดงถึง ความเป็นไทยย้อนยุค มีเสน่ห์น่าหลงใหล โดยสื่อออกมาทางภาพถ่าย และบทความต่างๆ ที่ได้ทำการสัมภาษณ์จากการวิจัยภาคสนาม โดยใช้ฟอนต์ที่แสดงถึงความเป็นไทย และสีของฟอนต์เป็นสีขาวและดำ แสดงถึงความเรียบง่าย คลาสสิค ซึ่งดูแล้วมีเสน่ห์ น่าหลงใหล ในส่วนเนื้อหาของภาพนั้นเป็นการนำเสนอเรื่องราวของความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีกลิ่นอายของอดีต มีเจดีย์ให้กราบไหว้ และมีหุ่นละครเล็ก คณะคำนาย ซึ่งถือเป็นศิลปะการแสดงที่น่าอนุรักษ์และประทับใจอีกด้วย กลุ่มศิลปินกลุ่มนี้ได้สร้างคุณค่าทางด้านจิตใจและถือเป็นตัวอย่างที่ดี ที่ให้ความสำคัญต่อชีวิตและสถานที่ โดยคำนึงถึงความสุขที่ยั่งยืนมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ศิลปินกลุ่มนี้ยังมีมุมมองที่ดีในการดำรงชีวิตให้ควบคู่ไปกับศิลปะ ถือเป็นแนวทางที่ดีในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตทั้งดานอารมณ์และจิตใจ

ตอนที่ 2 สรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำโครงการออกแบบ
        ผลงานออกแบบหนังสือเล่มเล็ก (Booklet) เรื่อง บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง เป็นงานวิจัยที่มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ การวิจัยเป็นไปอย่างมีแบบแผน มีแหล่งอ้างอิงที่มาของข้อมุล และการวิจัยที่เป็นกระบวนการอย่างมีเหตุผลสามารถนำหลักการนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผน การทำงานการแก้ปัญหา และเพื่อประโยชน์ทางด้านจิตใจ อารมณ์ ปัญญา ความคิด และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งสื่อต่างๆ เหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตได้
        การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือเล่มเล็ก(Booklet) เรื่อง บ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง ผลงานออกแบบนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่ในการดำรงชีวิตให้ควบคู่ไปกับศิลปะโดยนำการดำรงชีวิตของคนในชุมชนบ้านศิลปิน ณ คลองบางหลวง มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นทั้งด้านอารมณ์และจิตใจ การทำโครงการ ฯ นี้ ผู้ทำโครงการได้ทำการศึกษาพร้อมกับการนำเสนอผลงานเป็นหนังสือเล่มเล็ก (Booklet) โดยต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงการ เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ การออกแบบหนังสือ ทำให้ผู้ทำโครงการได้รับประโยชน์และได้รับความรู้มากขึ้น เข้าใจถึงการทำงาน มีแนวคิดที่ดีขึ้นในการออกแบบและสามารถนำประสบการณ์เหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อีกทั้งยังนำความรู้ ความสามารถ ไปใช้ในการทำงานได้ในอนาคต